บทบาทหน้าที่

เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร

กำหนดนโยบายความโปร่งใส

นโยบายคุณธรรม

 

 

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

           มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

           มาตรา 67 ภายใต้บังคังแห่งกฎหมาย

   

องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

    (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

    (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

    (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

    (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

    (7) คุ้มครอง ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

    (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลกรให้ตามความจำเป็นและสมควร

           มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

    (1) ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร

    (2) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

    (3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

    (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

    (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

    (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

    (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

    (8) การคุ้มครอง ดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน

    (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล

  (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

  (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

  (12) การท่องเที่ยว

  (13) การผังเมือง

อํานาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กร ปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กําหนดให้ อบต.มี อํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของ ประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

1. การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

2. การจัดให้มี และบํารุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ

3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ

5. การสาธารณูปการ

6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

7. คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

9. การจัดการศึกษา

10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

11. การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

13. การจัดให้มี และบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

14. การส่งเสริมกีฬา

15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

18. การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน

21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์

23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามยั โรงมหรสพ และสาธราณสถานอื่นๆ

24. การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25. การผังเมือง

26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร

27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ

28. การควบคุมอาคาร

29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และ ทรัพย์สิน

31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คระกรรมการประกาศกําหนด อบต.มีความสําคัญ อย่างไร